AIDS

Window Period ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (กามโรค )เป็นโรคติดต่อที่ส่งผ่านได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งใด ๆ จากผู้มีเชื้อ โรคเหล่านี้จะมีช่วงเวลาที่เรียกว่า ระยะฟักตัว ซึ่งระยะเวลาจะแตกต่างกันไปในแต่ละโรคทำให้ต้องเว้นระยะช่วงหนึ่งกว่าโรคจะแสดงอาการหรือกว่าจะสามารถตรวจหาเชื้อได้ ระยะฟักตัวของกามโรคต่างๆ มีดังนี้ HIV ระยะฟักตัวของโรค HIV จะเป็นระยะเวลา 7 วันนับจากวันเวลาที่มีการรับเชื้อ ทำให้ช่วงนี้เป็นช่วงที่ไม่สามารถตรวจ HIV เจอเชื้อได้เลย การตรวจคัดกรอง HIV ที่เชื่อถือได้จะสามารถทำได้ตั้งแต่ 14 วันขึ้นไปหลังจากการรับเชื้อ แต่หากใครคิดว่าตัวเองเคยมีความเสี่ยงที่ยังไม่เกิน ...

Read more

รักสนุกต้องระวังกามโรค!!

“กามโรค” ชื่อก็บ่งบอกแล้วว่าเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผ่านทั้งทางช่องคลอด ทวารหนักหรือทางปาก เป็นต้น ส่วนใหญ่มักเกิดในวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยเริ่มต้นที่มีความอยากรู้อยากลองในเรื่องเพศมาก โดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยและโรคร้ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ บางโรค เมื่อเป็นแล้วมักไม่แสดงอาการใดๆ ให้เห็น ทำให้หลายๆ คนมักไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นอยู่ มารู้ตัวอีกทีก็ตอนตรวจเอชไอวีหรือตรวจโรคต่าง ๆ จนเข้าสู่ภาวะที่รุนแรง และรักษาได้หายขาดยาก เพราะฉะนั้นจึงฝากเน้นย้ำถึง คนที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะคนที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยให้รีบตรวจเลือดเพื่อเช็คโรคติดต่อทางเพศ ไม่ว่าจะเป็น ซิฟิลิส เริม ...

Read more

U=U ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่เชื้อ

บางคนอาจเคยได้ยินวลี “ไม่เจอ = ไม่แพร่” ผ่านหูมาบ้างเมื่อไม่นานมานี้ เพราะประเทศไทยก็มีการรณรงค์เรื่อง U=U มาเป็นระยะ ๆ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนนั้น แคมเปญ U=U คือการอ้างอิงจากงานวิจัยโรค HIV กับยาต้านไวรัส ว่าสามารถทำให้คนที่ติด HIV ไม่แพร่เชื้อได้แล้วจริง ๆ แน่นอน เพราะได้มีการเก็บข้อมูลการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใช้ถุงยางของคู่รักที่มีผลเลือดต่างกัน (คนหนึ่งมีเชื้อ HIV แต่อีกคนไม่มี) มาเป็นเวลานานกว่า ...

Read more

ถุงยางอนามัย ประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด

หากถามความเห็นคนที่มีเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ เกี่ยวกับเรื่อง ถุงยางอนามัย แต่ละคนก็อาจจะตอบต่างกัน บางคนก็ชอบแบบไม่ใช้ บางคนก็อยากปลอดภัยไว้ก่อน ซึ่งก็ไม่มีความเห็นไหนที่ผิดเพราะสุดท้ายแล้วเพศสัมพันธ์ก็เป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึก ใครจะชอบแบบไหนก็สามารถทำได้ตามใจชอบหากมั่นใจว่าไม่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อจากอีกฝ่าย แต่ถ้าเราไม่มั่นใจล่ะ? ถ้าคนที่เรากำลังจะมีเพศสัมพันธ์ด้วยยืนกรานว่าไม่มีการติดเชื้อใด ๆ ในร่างกาย แต่เราไม่รู้จักประวัติหรือสถานะของร่างกายอีกฝ่ายเลย แบบนี้เราควรปล่อยตัวไปตามอารมณ์ หรือควรป้องกันไว้ก่อนดี? ทางเลือก ณ ตอนนั้นจะมีอยู่สองทาง ก็คือ ความต่างระหว่างสองวิธีนี้ จะเห็นได้ชัดในเรื่องของความปลอดภัยของตัวคุณเอง ถึงแม้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะรักษาหายได้แทบทั้งหมด หรือบางชนิดเช่น HIV ...

Read more

ขนาดถุงยางอนามัยแบบไหนที่เหมาะสมกับคุณ?

เมื่อพูดถึง ถุงยางอนามัย คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก เพราะถุงยางอนามัยนั้นเป็นอุปกรณ์ป้องกันการตั้งครรภ์ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่หลายๆ คนนิยมใช้ มีหลากหลายชนิด หลากหลายกลิ่นด้วยกัน และถึงแม้บางคนจะรับประทานยาป้องกันก่อนมีความเสี่ยงหรือที่รู้จักกันว่า “ยาเพร็พ” แล้วนั้นก็ยังคงต้องใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันกามโรคอื่นๆ เช่น ซิฟิลิส เริมที่อวัยวะเพศ หูดหงอนไก่ รู้แบบนี้แล้วมาใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์กันเถอะ! ชนิดของถุงยางอนามัย การเลือกขนาดถุงยางอนามัย การเลือกขนาดถุงยางอนามัย ควรเลือกให้พอดี ไม่หลวม หรือคับแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ฉีกขาดง่าย หรือหลุดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ...

Read more

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ออกกำลังกายได้แบบไหนบ้าง ?

หากคุณไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ก็อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับคุณสักเล็กน้อย ที่จะเริ่มต้นออกกำลังกาย หลังจากวินิจฉัยด้วยการตรวจเอชไอวีแล้วพบการติด เชื้อเอชไอวี และตัดสินใจที่จะออกกำลังกายเป็นประจำ วันนี้ เราหยิบยกเคล็ดลับและแนวทางดีๆ ที่จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมและง่ายดายยิ่งขึ้น ตั้งนาฬิกาปลุกสองเรือน อาจเป็นเรื่องยากที่คุณต้องตื่นเช้าในระยะแรก เมื่อเริ่มออกกำลังกาย ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถตื่นเช้าได้ตรงเวลาเพื่อออกกำลังกาย ให้ตั้งนาฬิกาปลุกไว้ 2 เรือนหรือเซ็ตนาฬิกาปลุกในโทรศัพท์มือถือ 2 รอบและวางไว้ให้ไกลจากเตียงนอน พอนาฬิกาปลุกครั้งแรกจะเตือนคุณให้รู้ว่า คุณเหลือเวลานอนอีกสักครู่ และนาฬิกาปลุกครั้งที่สองจะปลุกให้คุณตื่นและต้องเดินไปหยิบมันเพื่อปิด ดื่มและรับประทานอย่างเหมาะสม การดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เพียงพอแต่ละวัน เป็นสิ่งจำเป็นในระหว่างออกกำลังกายอย่างมาก ...

Read more