คนส่วนใหญ่มักจะตรวจเจอเชื้อซิฟิลิส ก็ต่อเมื่อไปบริจาคเลือด ตรวจคัดกรองการตั้งครรภ์ ตรวจเอชไอวี หรือตรวจสุขภาพประจำปี ดังนั้นหากมีโอกาสก็ควรทำการตรวจซิฟิลิสสักครั้ง คนที่ควรตรวจโรคนี้ ได้แก่ กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุด คือ กลุ่มวัยรุ่น และเพศที่สาม กลุ่มชายรักชาย หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี หรือมีคู่นอนที่มีเชื้อเอชไอวี เป็นต้น

Syphilis ติดต่อกันอย่างไร
Table of Contents
- การสัมผัสกับเชื้อ เมื่อเราไปสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของการทำให้เกิดโรคซิฟิลิส ก็มีโอกาสรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
- การมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะมีทางทวารหนักหรืออวัยวะเพศ นอกจากนี้รวมถึงการจูบ หรือการทำ ออรัลเซ็ก
- การติดจากแม่สู่ลูก
แบบนี้ไม่ติดซิฟิลิส
- การนั่งฝารองชักโครก หรือใช้ห้องน้ำเดียวกัน
- การกอด การจับมือ
- การใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกัน
- การรับประทานอาหารและใช้ภาชนะร่วมกัน
- การว่ายน้ำในสระเดียวกัน หรือใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายร่วมกัน
การตรวจวินิจฉัยโรคซิฟิลิส
สามารถทำได้ด้วยการตรวจหนองจากแผลในระยะที่หนึ่ง หรือทำการตรวจเลือดก็ได้ โดยแบ่งวิธีการตรวจออกเป็น 3 วิธีได้แก่
การตรวจซิฟิลิสแบบ Dark Field Exam คือ การส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้จากการเก็บตัวอย่างเชื้อบนผิวหนัง น้ำเหลืองจากแผล หรือผื่นที่สงสัยว่าจะติดเชื้อซิฟิลิสในระยะแรก หรือระยะที่สอง
การตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อซิฟิลิส โดยแยกเป็น
การเจาะเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันเบื้องต้น ซึ่งไม่เฉพาะเจาะจงต่อเชื้อซิฟิลิส ได้แก่ การตรวจ VDRL หรือ RPR หลังจากได้รับเชื้อมาแล้ว และเริ่มปรากฏอาการเริ่มแรก หากให้ผลบวกต้องเจาะเลือดอีก เพื่อยืนยันการวินิจฉัย
การเจาะเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ที่เฉพาะเจาะจงต่อเชื้อซิฟิลิส ได้แก่ FTA-ABS (Fluorescent Treponemal Antibody Absorption Test) หรือ MHA-TP (Microhemagglutination-Treponema Pallidum) สำหรับการตรวจนี้ ผู้ที่เคยเป็นซิฟิลิสมาก่อน ถึงจะรักษาหายแล้ว อาจจะให้ผลบวกได้ โดยที่ไม่เป็นโรคในขณะนั้น
การตรวจน้ำไขสันหลัง (Cerebrospinal Fluid Test) จะใช้ในกรณีที่สงสัยว่า ผู้ตรวจมีการติดเชื้อในระบบประสาท