Site icon STI CENTER

หนองในเทียม ขณะตั้งครรภ์

หนองในเทียม ขณะตั้งครรภ์

หนองในเทียม เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Chlamydia Trachomatis) สามารถรักษาได้ สามารถติดต่อกันได้จากการมีเพศสัมพันธ์ทางอวัยวะเพศ ทางปาก หรือทางทวารหนัก นอกจากนี้ยังสามารถส่งผ่านจากแม่ไปยังทารก ในขณะตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

หนองในเทียม คืออะไร ?

หนองในเทียม คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถติดต่อได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง มีลักษณะอาการคล้ายกับหนองในแท้ แต่จะแตกต่างตรงที่หนองในเทียมเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ซึ่งเชื้อส่วนใหญ่ที่พบมากในผู้ที่เป็นหนองในเทียม ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis

อาการหนองในเทียมเป็นอย่างไร ?

อาการของหนองในเทียมส่วนใหญ่ (มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิง) มักไม่แสดงอาการใด ๆ หากคุณมีอาการอาการเหล่านี้ ในช่วงประมาณ 1-3 สัปดาห์หลังจากที่คุณได้รับการสัมผัสกับเชื้อ ขอแนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย หากตรวจพบเชื้อจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อตัวคุณเองและทารก

หนองในเทียมส่งผลกระทบต่อทารกอย่างไร ?

หนองในเทียม ส่งผลกระทบไปยังทารกได้ หากคุณมีการติดเชื้อหนองในเทียม เมื่อคุณคลอดบุตร มีโอกาสที่คุณจะส่งผ่านแบคทีเรียไปยังทารกน้อยของคุณได้ โดย 25-50 เปอร์เซ็นต์ของทารกเหล่านี้ จะเกิดการติดเชื้อที่ตา (เยื่อบุตาอักเสบ) ในช่วง 2-3 วันหรือ 2-3 สัปดาห์หลังคลอด และร้อยละ 5-30 ของทารกที่ติดเชื้อหนองในเทียมระหว่างการคลอดจะมีอาการปอดบวมในไม่กี่สัปดาห์ถึงหลายเดือนหลังคลอด

การติดเชื้อเหล่านี้อาจร้ายแรงมาก แต่ทารกที่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยยาปฏิชีวนะมักจะหายเป็นปกติดี แน่นอนว่าควรได้รับการรักษาก่อนคลอด เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยของคุณติดเชื้อตั้งแต่แรก

การรักษาหนองในเทียมขณะตั้งครรภ์

การรักษาหนองในเทียม ขณะตั้งครรภ์สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ที่ปลอดภัยในการตั้งครรภ์ แพทย์จะจ่ายยาให้สำหรับระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่แล้ว การรักษา 1 รอบจะรักษาการติดเชื้อได้ ซึ่งแพทย์แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการตรวจอีกครั้งในช่วง 3-4 สัปดาห์ หลังจากการรักษาครั้งแรก เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อได้หายไปแล้วจริงๆ

กลุ่มยาสำหรับรักษาหนองในเทียมในหญิงตั้งครรภ์

ขอบคุณข้อมูลจาก : motherhood

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม

Exit mobile version