ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเป๊ป (PEP) เพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูงสุด

ยาต้านไวรัสเอชไอวี (Exposure prophylaxis) เป็นยาที่กินเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งยาต้านไวรัสเอชไอวี มีการใช้ใน 2 ลักษณะ คือ ช่วงก่อน หรือหลังจากมีการสัมผัสเชื้อเอชไอวี  โดยยาที่กินเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อเอชไอวี เรียกว่า ยาเพร็พ (PrEP) และยาที่กินเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีหลังจากสัมผัสเชื้อ เรียกว่า ยาเป๊ป (PEP)

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเป๊ป (PEP)

beefhunt

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเป๊ป

  • กินในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์แล้วถุงยางอนามัยแตก เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังจากที่มีความเสี่ยงมาแล้ว 
  • ยาเป๊ปควรใช้ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากสัมผัสเชื้อเอชไอวี ยิ่งใช้เร็ว ประสิทธิภาพในการป้องกันจะยิ่งสูง
  • ยาเป๊ปต้องกินติดต่อกัน 28 วัน
  • กินให้ครบ 28 วัน หากกินไม่ครบประสิทธิภาพการป้องกันจะลดลง
  • ประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 70-80
  • ยาเป๊ปไม่ใช่ยารักษาโรคเอดส์ แต่เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
  • ยาเป๊ปมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ฯลฯ
  • ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเป๊ป เพื่อประเมินความเสี่ยง และตรวจหาเชื้อเอชไอวี
  • มีสูตรยาหลายสูตรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  • ยาเป๊ปมีจำหน่ายที่โรงพยาบาล คลินิกนิรนาม และสถานพยาบาลบางแห่ง

ยาเป๊ป

ยาเป๊ป (PEP ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis)  คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่เพิ่งสัมผัสเชื้อ ไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือ สำหรับผู้ไม่ติดเชื้อที่บังเอิญหรือมีความจำเป็น หรือไม่ตั้งใจแต่ไปสัมผัสเชื้อเอชไอวี มาแล้ว โดยต้องกินยาต้านให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสเชื้อ เพราะการติดเชื้อเอชไอวีจะเกิดอยู่เฉพาะที่ในตอนแรก โดยการติดเชื้อทั่วร่างกายจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1-3 วันหลังการสัมผัส ซึ่งต้องกินยาเป็นเวลา 28 วัน ทำให้มีโอกาสที่เชื้อจะไม่กระจายสู่ร่างกายได้

Love2test
การกินยาเป๊ป

ความสำคัญของการกินยาเป๊ป 

การกินยาเป๊ป จำเป็นต้องกินให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องกินภายในเวลา 72 ชั่วโมง  และจะต้องกินอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 28 วัน

  • กินให้ตรงเวลา เนื่องจากเชื้อไวรัสเอชไอวี มีโอกาสดื้อยาสูงมาก โดยส่วนใหญ่แพทย์จะจัดให้กิน 8.00 และ 20.00 น. เพราะว่าปริมาณยาในร่างกายจะได้สม่ำเสมอ และพยายามอย่าลืมในแต่ละวัน เพราะจะก่อให้เกิดการดื้อยาเช่นกัน
  • อย่าลืมว่ายาต้านไวรัสเอชไอวี ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี และซี ที่มีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งตับได้ในอนาคต
  • กินในเฉพาะช่วงที่มีความเสี่ยงได้ เช่น ช่วงที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ และหลังหยุดกินต้องตรวจหาเชื้อเอชไอวี ด้วยเสมอ
  • ยาต้านไวรัสส่วนมาก มักมีผลข้างเคียง บางรายอาจมีอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และอิดโรย โดยผลข้างเคียงนี้อาจมีอาการรุนแรงในบางราย จนทำให้เป็นสาเหตุของผู้กินยา หยุดยาไปก่อนที่จะกินครบกำหนด

 ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป๊ป

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ถูกข่มขืน หรือ มีการป้องกันแต่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์เช่น ถุงยางหลุด ถุงยางฉีกขาด ฯลฯ
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ หรือ สัมผัสเลือด หรือ ได้รับสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • กินในกรณีที่รู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยง เช่น ไม่ใส่ถุงยางอนามัย มีคู่นอนหลายคน
  • ไม่ได้สติขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดจากฤทธิ์แอลกอฮอล์หรือฤทธิ์ยาบางชนิด
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • บุคคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุ มีดบาด เข็มตำในโรงพยาบาลจากการทำหัตถการให้คนไข้
  •  มีการตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ปรึกษาแพทย์ก่อน

ขั้นตอนการรับยาเป๊ป 

หากคุณมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเอชไอวี  ก่อนที่ผู้รับบริการจะรับยาเป็ป ต้องทำการปรึกษาแพทย์ก่อน โดย

  • แพทย์จะซักเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และประวัติ โรคประจำตัว และข้อมูลอื่นๆ เพื่อพิจารณาว่าจำเป็นต้องรับยาเป็ป หรือไม่
  • หลังจากแพทย์ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสมควรได้รับยา PEP  จริง จะต้องมีการเจาะเลือดคนไข้เพื่อตรวจว่าไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี อยู่ก่อนแล้ว รวมถึงตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และสุขภาพโดยรวม ค่าไตค่าตับของคนไข้ด้วย ว่าพร้อมจะกินยาหรือไม่  ก่อนรับยาเป็ป ทุกราย
  • ตรวจการตั้งครรภ์ในรายที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้
  • เข้าพบแพทย์ เพื่อเลือกตัวยาที่เหมาะสม
  • รับยากลับบ้าน
  • หลังจากกินยาครบแพทย์จะนัดคนไข้มาเจาะเลือดเพื่อตรวจเอชไอวี อีกครั้ง

ยาเป๊ป (PEP) รับได้ที่ไหน

การรับยา PEP สามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เนื่องจากการรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา ซึ่ง ราคายาเป๊ป มีหลายราคาขึ้นอยู่กับชนิดของยา จำนวนบรรจุ  เช่น ยาเป๊ป  (30 tablets) ซึ่งราคาเฉลี่ยอยู่ที่  1,200- 20,000 บาท 

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม

ยาเป๊ปเป็นยาที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังจากสัมผัสเชื้อมาแล้ว แต่ไม่ใช่ยาป้องกันได้ 100%  ผู้ใช้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเพื่อประเมินความเสี่ยง ผลข้างเคียง และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสม และปลอดภัยสำหรับสุขภาพของคุณ.