หูดหงอนไก่ ภัยเงียบที่ต้องระวัง !!

หูดหงอนไก่ ภัยเงียบที่ต้องระวัง !!

หูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่พบได้ไม่บ่อยนักในประเทศไทย แต่ที่ต้องควรระวังเพราะโรคนี้ถ้าติดแล้วจะรักษาหายได้ยาก บางรายอาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ได้เป็นปี ๆ ทั้งนี้เพราะว่า โรคหูดหงอนไก่ เกิดจากไวรัสที่ชื่อ HPV ที่จะไปฝังตัวอยู่บริเวณรอบอวัยวะเพศ หรือ ทวาร และทำให้เกิดเป็นติ่งของผิวหนังที่มีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ โดยอาจเกิดเป็นจุดเดียว หรือเป็นกลุ่ม ๆ ก็ได้ นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้โรคนี้ต้องพึงระวังก็คือช่องทางการติดต่อ เพราะโรคนี้สามารถติดได้เพียงแค่สัมผัสบริเวณที่มีอาการเท่านั้น ทำให้ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันได้

หูดหงอนไก่อันตรายหรือไม่ ?

หูดหงอนไก่โรคนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดภัยร้ายแรงอะไรกับร่างกายมากนัก อยากมากก็สร้างความน่ารำคาญหรือลักษณะอาการที่ไม่พึงประสงค์เพียงเท่านั้น ถ้าใครที่มีอาการใกล้เคียงตามที่กล่าวข้างต้น ก็สามารถเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เพื่อเข้ารับการรักษา ซึ่งวิธีการรักษาโรคนี้ก็มีหลายวิธีด้วยกัน ตั้งแต่การใช้เครื่องมือจี้บริเวณที่มีอาการด้วยความเย็น หรือการทายาเป็นระยะเวลาหนึ่งจนอาการหายไป

สาเหตุของโรคหูดหงอนไก่

หูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Human Papillomavirus หรือ HPV ซึ่งในปัจจุบันพบไวรัสชนิดนี้มากกว่า 200 สายพันธุ์ย่อย โดยเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่มากถึง 90% คือสายพันธ์ุ 6 และ 11 เมื่อร่างกายของผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัส HPV เข้าร่างกาย จะใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 3 เดือนในการแบ่งตัวเข้าสู่เซลล์ชั้นล่างสุดของเยื่อบุ จนเกิดการเปลี่ยนรูปร่างเป็นติ่งเนื้องอกขึ้นมาให้เห็นได้ชัดเจน และโดยปกติแล้วผู้ที่เป็นโรคหูดหงอนไก่ประมาณร้อยละ 80% จะสามารถหายเองได้ภายใน 2 ปี แต่ในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอหรือส่วนน้อยของผู้ป่วยทั้งหมดที่ร่างกายจะเกิดเป็นรอยโรคเรื้อรัง

การรักษาหูดหงอนไก่

การรักษาหูดหงอนไก่

โรคนี้ในบางรายอาจใช้เวลานานเพราะไวรัส HPV อาจฝังตัวอยู่ได้หลายจุดรอบบริเวณอวัยวะเพศ และแต่ละจุดก็อาจแสดงอาการไม่พร้อมกันทำให้รักษาได้ไม่ทั่วถึงและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง ทำให้การหาวิธีป้องกันโรคนี้เป็นเรื่องสำคัญพอ ๆ กับการรักษาเพราะสามารถทำได้ง่ายกว่า ซึ่งการป้องกันโรคจะสามารถทำได้โดยการ ฉีดวัคซีน HPV เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 9-26 ปีเป็นต้นไป แต่ถ้าเกินช่วงอายุนี้จะทำให้วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพมากนัก เพราะแต่ละคนอาจมีการติดเชื้อ HPV จากช่องทางอื่นมาก่อนแล้ว จึงแนะนำให้ฉีดตอนช่วงอายุน้อยจะดีกว่า รวมถึงการหมั่นตรวจเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เป็นประจำ เพราะหากติดโรคใดโรคหนึ่งแล้วจะนำพาเอาโรคอื่น ๆ ตามมาได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีเชื้อครับ
#หูดหงอนไก่#โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์#HPV

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องที่นี่