เอดส์

การติดเชื้อฉวยโอกาส Opportunistic infectionการติดเชื้อฉวยโอกาส Opportunistic infection

การติดเชื้อฉวยโอกาส | Opportunistic infection

By STD Ka

การติดเชื้อฉวยโอกาส เป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อบุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด หรือผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ การติดเชื้อเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากภูมิคุ้มกันอ่อนแอเพื่อทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยร้ายแรงต่อสุขภาพ การทำความเข้าใจว่าการติดเชื้อฉวยโอกาสคืออะไร สาเหตุ และวิธีป้องกันเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการจัดการสุขภาพโดยรวม การติดเชื้อฉวยโอกาสคืออะไร? เชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic infection) โรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ เชื้อฉวยโอกาสเหล่านี้อาจอยู่ในร่างกายของคนปกติโดยไม่ก่อให้เกิดโรคใดๆ แต่เมื่อระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องลง เชื้อเหล่านี้ก็สามารถเจริญเติบโตและก่อโรคได้ การติดเชื้อฉวยโอกาสสาเหตุเกิดจากอะไร? สาเหตุของการติดเชื้อฉวยโอกาส คือ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง …

Read more
โรคเอดส์ ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ HIV

โรคเอดส์ | ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ HIV

โรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome: AIDS) คือ โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ โดยไวรัสเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า CD4 ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ เช่น  โรคเอดส์ติดต่อทางไหนบ้าง ? โรคเอดส์สาเหตุเกิดจากอะไร ? โรคเอดส์ (Immune deficiency syndrome: AIDS) เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี (Human immunodeficiency ...

Read more
พ่อแม่ที่มีเชื้อเอชไอวีมีลูกได้ไหม ลูกจะติดเชื้อหรือไม่

พ่อแม่มีเชื้อเอชไอวีมีลูกได้ไหม ลูกจะติดเชื้อหรือไม่?

ปัจจุบันเด็กติดเชื้อเอชไอวีที่เกิดขึ้นใหม่ บางส่วนอาจจะเสียชีวิต หรือติดเชื้อจากแม่ และบางส่วนเด็กก็จะกำพร้าพ่อ-แม่ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเด็กบางคนไม่ได้ติดเชื้อแต่กำเนิดจากแม่ที่ติดเชื้อ แต่ปัจจุบันมีการใช้ยาต้านไวรัสป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ทำให้มีอัตราเด็กติดเชื้อแรกเกิดใหม่ลดลงมาก เชื้อเอชไอวี คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเอดส์ คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ สาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก มาจากปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการแพร่เชื้อไปยังเด็กมากที่สุด คือ ปริมาณของเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดของแม่โดยเฉพาะช่วงที่ตั้งครรภ์  ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่พบได้ เช่น ระยะโรคที่เป็นมาก ปริมาณเม็ดเลือดขาวต่ำ  มีการติดเชื้อฉวยโอกาส  ...

Read more
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรรับประทานอะไร

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรรับประทานอะไร และอะไรคืออาหารต้องห้าม

อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีถือเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก สำหรับสุขภาพของคนทุกคน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากโภชนาการมีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน และความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรค การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ยังช่วยให้คุณรักษาน้ำหนักร่างกายในระดับที่เหมาะสม และสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง และกระดูกพรุน อาหารที่ดีต่อสุขภาพมีประโยชน์หลายประการ สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวมได้ด้วยการให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันตัวเองแข็งแรงขึ้น เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยควบคุมอาการภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน หรือโรคฉวยโอกาสอื่น ๆ และช่วยควบคุมอาการข้างเคียงจากการให้ยาได้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรรับประทานอะไร อาหารที่ดีประกอบด้วยอาหารประเภทต่างๆ ที่สมดุล ดังต่อไปนี้ อาหารต้องห้ามของผู้ติดเชื้อเอชไอวี อ่านบทความที่เกี่ยวข้องที่นี่ ...

Read more
โรคเอดส์ กับโรคซิฟิลิสเหมือนกันไหม

โรคเอดส์ กับโรคซิฟิลิสเหมือนกันไหม

กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก  ทุพลภาพ และอาจตายได้ ซึ่งมผลกระทบต่อภาวะสุขภาพกาย และจิตใจและสุขภาพที่รุนแรงต่อทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กได้ โรคเอดส์ เกิดจากอะไร? โรคเอดส์ (AIDS) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งเป็น อาการในระยะสุดท้ายของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นระยะที่เสี่ยงเสียชีวิตมากที่สุด ...

Read more
สวมถุงยางอนามัย 2 ชั้น ปกป้อง 2 เท่าจริงเหรอ

สวมถุงยางอนามัย 2 ชั้น ปกป้อง 2 เท่าจริงเหรอ?

ถุงยางอนามัยเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการคุมกำเนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยประสิทธิภาพจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่ว่านำมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ รวมทั้งการเลือกขนาดของถุงยางอนามัย ตลอดจนวิธีการเก็บรักษา  ถ้าสวมถุงยางอนามัย 2 ชั้น จะป้องกันได้เป็นสองเท่าหรือไม่?  การสวมถุงยางอนามัยชั้นเดียว โดยปกติป้องกันได้เกือบ 100% ปกติการใส่ถุงยางอนามัยที่ดี คือ ควรเลือกขนาดที่เหมาะสม ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันสูงสุดที่ประมาณ 98% สำหรับการใช้งานอย่างถูกวิธี มีโอกาสพลาด 2% ? เหตุผลที่มีโอกาสพลาดได้ 2% มาจากการผลิตภัณฑ์ชำรุด ...

Read more
รุกหรือรับ ใครเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีมากกว่า

รุกหรือรับ ใครเสี่ยงติดเชื้อโรคมากกว่า?

กิจกรรมทางเพศไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางทวาร ทางปาก ผิวหนังอวัยวะเพศกับผิวหนัง ล้วนสามารถส่งต่อเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ได้ทั้งนั้น เช่น โรคเอดส์ โรคหนองใน ซิฟิลิส โรคติดเชื้อคลามีเดีย และโรคไวรัสตับอักเสบบี โดยเชื้อโรคนั้นสามารถติดต่อกันได้หลายทาง เช่น ผ่านทางน้ำอสุจิ ผ่านทางเลือด โดยเฉพาะการมีอะไรกันทางทวาร มักจะก่อให้เกิดแผลถลอกเล็กน้อย มีเลือดออกแบบไม่รู้ตัว และไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ท่าไหน ท่าง่าย ท่ายาก ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้หมด ถ้าเราหรือคู่นอนเกิดติดโรคทางเพศสัมพันธ์ขึ้นมา โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งฝ่ายรุก และรับ และเกิดได้ทั้งชาย ...

Read more
วิธีป้องกันโรคเอดส์ทำได้อย่างไร

วิธีป้องกันโรคเอดส์ทำได้อย่างไร?

โรคเอดส์ (AIDS) คือ กลุ่มอาการของโรคฉวยโอกาส เกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าไปจนถึงระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ เชื้อไวรัสจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจนทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ลดลง จนไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย  ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนที่เรียกว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส  ซึ่งทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติ และอาการอาจจะรุนแรงจนเสียชีวิตในที่สุด สาเหตุของโรคเอดส์ มาจากการได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี ผ่านทางการรับของเหลว เช่น เลือด น้ำนมแม่ น้ำอสุจิ ของเหลวในช่องคลอด โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะได้รับผ่านจากการมีเพศสัมพันธ์ ...

Read more
แนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี

แนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์

เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้ การติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นต้องมีอาการเอดส์ หากรู้เร็วด้วย การตรวจเลือด และรักษาเร็วด้วยยาต้านไวรัส โดยสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีที่พบบ่อยที่สุด คือ ติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ...

Read more
ทำไมตรวจเอชไอวีไม่เจอ

ทำไมตรวจเอชไอวีไม่เจอ

การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี  ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ หรือไม่เจอเชื้อ ก็เป็นการได้เริ่มต้นป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง หรือถ้าตรวจเจอเชื้อ ก็ถือว่าเป็นการรู้ตัวก่อนที่จะป่วยขึ้นมา เพื่อได้เข้าสู่กระบวนการรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ป่วยหรือ เสียชีวิตจากโรคเอดส์ อีกทั้งสามารถป้องกันคนที่เรารักและคนอื่นๆ ไม่ให้ติดเชื้อจากเราได้ การตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่ง 2 ลักษณะ คือ ตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยัน 1. การตรวจคัดกรอง คือ การตรวจเพื่อกรองบุคคลผู้มีความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อเอชไอวี ว่ามีโอกาสได้รับเชื้อหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจโดย Rapid ...

Read more