Month: June 2020

หูดหงอนไก่ ภัยเงียบที่ต้องระวัง !!

By STD Ka

หูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่พบได้ไม่บ่อยนักในประเทศไทย แต่ที่ต้องควรระวังเพราะโรคนี้ถ้าติดแล้วจะรักษาหายได้ยาก บางรายอาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ได้เป็นปี ๆ ทั้งนี้เพราะว่า โรคหูดหงอนไก่ เกิดจากไวรัสที่ชื่อ HPV ที่จะไปฝังตัวอยู่บริเวณรอบอวัยวะเพศ หรือ ทวาร และทำให้เกิดเป็นติ่งของผิวหนังที่มีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ โดยอาจเกิดเป็นจุดเดียว หรือเป็นกลุ่ม ๆ ก็ได้ นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้โรคนี้ต้องพึงระวังก็คือช่องทางการติดต่อ เพราะโรคนี้สามารถติดได้เพียงแค่สัมผัสบริเวณที่มีอาการเท่านั้น ทำให้ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันได้ หูดหงอนไก่อันตรายหรือไม่ ? …

Read more

ยา PrEP และ PEP แตกต่างกันอย่างไร?

ด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้ยาต้านไวรัสของโรค HIV ได้มีการพัฒนาขึ้นไปมากแล้ว นอกจากกลุ่มยาที่มีไว้รักษาโดยการต้านเชื้อ ก็ยังมียาที่ทำงานด้วยจุดประสงค์อื่น คือการป้องกันเชื้อ HIV ออกมาให้คนทั่วไปได้รับไปทาน ซึ่งยาเหล่านี้ถือเป็นทางเลือกให้กับผู้ไม่มีเชื้อ HIV ในการป้องกันโรคหลังมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ HIV ได้ซึ่งยาเหล่านี้มีชื่อว่ายา PrEP และ PEP ซึ่งถูกคิดค้นเพื่อให้ทานในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป ดังนี้ PrEP (เพร็พ) PrEP หรือ Pre-exposure prophylaxis ...

Read more

Oral sex เสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

หากเปรียบเทียบรูปแบบการมีเพศสัมพันธ์ทั้งหมด จะพบว่ามีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคแตกต่างกันไปตามแต่ละรูปแบบ ช่องทางที่เสี่ยงที่สุดจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางทวาร เพราะจะมีผนังเยื่อบุด้านในที่บอบบางที่สุด ส่วนที่เสี่ยงน้อยที่สุดจะเป็นทางปาก เพราะเชื้อโรคส่วนมากจะไม่ติดผ่านน้ำลาย ทำให้ต่างจากเพศสัมพันธ์ที่มีการสอดใส่อื่น ๆ แต่ถึงจะเสี่ยงน้อยที่สุด ไม่ได้แปลว่าเป็นศูนย์แต่อย่างใด ติดต่อทางไหน ? โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ติดต่อทางปาก จะมีอยู่บางโรค เช่น เริม หนองใน หูดหงอนไก่ และซิฟิลิส แต่ว่าไม่ต้องกังวลไป เพราะโรคพวกนี้รักษาหายขาดได้แทบทั้งหมด เช่น จะมีอยู่อย่างเดียวคือ โรคเริมซึ่งไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ ...

Read more

ใครบ้างที่ควรได้รับยา PEP ??

ยา PEP มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันคนที่ไม่มีเชื้อ HIV เกิดมีการติดเชื้อขึ้น ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ซึ่งช่องทางการติดเชื้อ HIV ก็อาจมีได้จากหลายทาง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน/ใช้ซ้ำ หรืออุบัติเหตุเข็มตำ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ทั้งหมด หากมีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ก็สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อ รับยา PEP ไปทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องรับยาไปทานให้ทันภายใน 72 ชั่วโมง ...

Read more

U=U ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่เชื้อ

บางคนอาจเคยได้ยินวลี “ไม่เจอ = ไม่แพร่” ผ่านหูมาบ้างเมื่อไม่นานมานี้ เพราะประเทศไทยก็มีการรณรงค์เรื่อง U=U มาเป็นระยะ ๆ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนนั้น แคมเปญ U=U คือการอ้างอิงจากงานวิจัยโรค HIV กับยาต้านไวรัส ว่าสามารถทำให้คนที่ติด HIV ไม่แพร่เชื้อได้แล้วจริง ๆ แน่นอน เพราะได้มีการเก็บข้อมูลการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใช้ถุงยางของคู่รักที่มีผลเลือดต่างกัน (คนหนึ่งมีเชื้อ HIV แต่อีกคนไม่มี) มาเป็นเวลานานกว่า ...

Read more

ถุงยางอนามัย ประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด

หากถามความเห็นคนที่มีเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ เกี่ยวกับเรื่อง ถุงยางอนามัย แต่ละคนก็อาจจะตอบต่างกัน บางคนก็ชอบแบบไม่ใช้ บางคนก็อยากปลอดภัยไว้ก่อน ซึ่งก็ไม่มีความเห็นไหนที่ผิดเพราะสุดท้ายแล้วเพศสัมพันธ์ก็เป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึก ใครจะชอบแบบไหนก็สามารถทำได้ตามใจชอบหากมั่นใจว่าไม่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อจากอีกฝ่าย แต่ถ้าเราไม่มั่นใจล่ะ? ถ้าคนที่เรากำลังจะมีเพศสัมพันธ์ด้วยยืนกรานว่าไม่มีการติดเชื้อใด ๆ ในร่างกาย แต่เราไม่รู้จักประวัติหรือสถานะของร่างกายอีกฝ่ายเลย แบบนี้เราควรปล่อยตัวไปตามอารมณ์ หรือควรป้องกันไว้ก่อนดี? ทางเลือก ณ ตอนนั้นจะมีอยู่สองทาง ก็คือ ความต่างระหว่างสองวิธีนี้ จะเห็นได้ชัดในเรื่องของความปลอดภัยของตัวคุณเอง ถึงแม้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะรักษาหายได้แทบทั้งหมด หรือบางชนิดเช่น HIV ...

Read more

ขนาดถุงยางอนามัยแบบไหนที่เหมาะสมกับคุณ?

เมื่อพูดถึง ถุงยางอนามัย คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก เพราะถุงยางอนามัยนั้นเป็นอุปกรณ์ป้องกันการตั้งครรภ์ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่หลายๆ คนนิยมใช้ มีหลากหลายชนิด หลากหลายกลิ่นด้วยกัน และถึงแม้บางคนจะรับประทานยาป้องกันก่อนมีความเสี่ยงหรือที่รู้จักกันว่า “ยาเพร็พ” แล้วนั้นก็ยังคงต้องใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันกามโรคอื่นๆ เช่น ซิฟิลิส เริมที่อวัยวะเพศ หูดหงอนไก่ รู้แบบนี้แล้วมาใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์กันเถอะ! ชนิดของถุงยางอนามัย การเลือกขนาดถุงยางอนามัย การเลือกขนาดถุงยางอนามัย ควรเลือกให้พอดี ไม่หลวม หรือคับแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ฉีกขาดง่าย หรือหลุดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ...

Read more

ซิฟิลิส เรื่องน่ากลัวแต่ป้องกันได้

หากพูดถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สิ่งที่ผุดขึ้นมาในความคิดหลาย ๆ คนก็คงจะเป็นโรคเอชไอวีหรือหนองใน แต่ส่วนใหญ่ก็คงจะเป็นเอชไอวีมากกว่า เพราะทุกคนรู้กันดีว่าโรคนี้มีลักษณะเป็นยังไง แต่นอกเหนือจากสองโรคข้างต้น ก็ยังมีอีกโรคหนึ่งที่บางคนอาจมองข้ามไปก็คือโรคซิฟิลิส ที่ส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายได้หากไม่รักษา และเป็นโรคน่ากลัวอีกโรคหนึ่งที่ส่วนมากจะติดมาคู่กันกับเอชไอวี โรคซิฟิลิสเกิดจากอะไร โรคซิฟิลิสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนมากจะ ติดระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย โดยจะมีอาการที่เห็นได้ชัดคืออยู่ ๆ ร่างกายจะมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตามแขน ตามลำตัว หรือขึ้นพร้อมกันในบริเวณทั้งหมดที่กล่าวมา หากมีอาการดังกล่าวก็ควรเข้าพบแพทย์และรักษาให้หายขาดโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายและเข้าสู่ระยะถัดไปของโรค หากไม่ได้รักษาและปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ โรคซิฟิลิส ...

Read more

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ออกกำลังกายได้แบบไหนบ้าง ?

หากคุณไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ก็อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับคุณสักเล็กน้อย ที่จะเริ่มต้นออกกำลังกาย หลังจากวินิจฉัยด้วยการตรวจเอชไอวีแล้วพบการติด เชื้อเอชไอวี และตัดสินใจที่จะออกกำลังกายเป็นประจำ วันนี้ เราหยิบยกเคล็ดลับและแนวทางดีๆ ที่จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมและง่ายดายยิ่งขึ้น ตั้งนาฬิกาปลุกสองเรือน อาจเป็นเรื่องยากที่คุณต้องตื่นเช้าในระยะแรก เมื่อเริ่มออกกำลังกาย ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถตื่นเช้าได้ตรงเวลาเพื่อออกกำลังกาย ให้ตั้งนาฬิกาปลุกไว้ 2 เรือนหรือเซ็ตนาฬิกาปลุกในโทรศัพท์มือถือ 2 รอบและวางไว้ให้ไกลจากเตียงนอน พอนาฬิกาปลุกครั้งแรกจะเตือนคุณให้รู้ว่า คุณเหลือเวลานอนอีกสักครู่ และนาฬิกาปลุกครั้งที่สองจะปลุกให้คุณตื่นและต้องเดินไปหยิบมันเพื่อปิด ดื่มและรับประทานอย่างเหมาะสม การดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เพียงพอแต่ละวัน เป็นสิ่งจำเป็นในระหว่างออกกำลังกายอย่างมาก ...

Read more

ยาเพร็พ(PrEP)กับยาเป๊ป(PEP) ต่างกันยังไง ?

ยาเพร็พ(PrEP) คือ ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกัน “ก่อน” การสัมผัสเชื้อเอชไอวี เพียงทานวันละ 1 เม็ด อย่างต่อเนื่องการทานยาเพร็พ (PrEP) ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความปลอดภัย หากมีการทานยาอย่างถูกวิธีและได้รับการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ แนะนำให้ผู้ทาน เพร็พ (PrEP) ใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการป้องกัน HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ยาเป๊ป(PEP) คือ ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ในกรณีฉุกเฉิน และขอเน้นย้ำว่าต้องต้องทานให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี โดยจะ ต้องเริ่มรับประทานภายใน ...

Read more