โรคผิวหนังในที่ลับที่ควรรู้

โรคผิวหนัง (Skin Disease) คือโรคภัยอีกชนิดที่สามารถพบได้มากในประเทศไทยที่เต็มไปด้วยอากาศร้อนอบอ้าว และมลพิษ หรือเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อโรค ซึ่งมีหลายโรคผิวหนังที่ถูกมองข้ามไป เนื่องจากโรคมักพบได้ง่ายในชีวิตประจำวัน 

แต่โรคผิวหนังในที่ลับสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องที่ควรต้องปกปิด หรือต้องอาย เพราะหากไม่รีบตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการรักษาอาจจะส่งผลให้โรคผิวหนังเกิดการลุกลามจนเจ็บป่วยมากขึ้น รักษาได้ยากขึ้น รักษาไม่หายขาด และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มมากขึ้น ดั

โรคผิวหนังในที่ลับที่ควรรู้

ดังนั้นหากเกิดความสงสัยว่าเป็นโรคผิวหนังต่างๆ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด และเป็นยังวิธีการที่ดีที่สุดอีกด้วย

โรคผิวหนังในที่ลับมีดังต่อไปนี้

หูด (wart)

เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส human papilloma virus (HPV) มีลักษณะเป็นเนื้องอก มีสีชมพูหรือสีเนื้อ ผิวขรุขระ หากลุกลามมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจมีลักษณะคล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำได้

โรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่พบบ่อยในวัยเจริญพันธุ์ คือ ในช่วงอายุ 16-25 ปี

หนองในแท้ (gonorrhea)

เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoeae ในผู้ชายจะมีอาการปัสสาวะขัด แสบ มีหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ ในผู้หญิงจะมีอาการตกขาวผิดปกติ เป็นหนอง มีกลิ่น ปัสสาวะแสบขัด หากมีปีกมดลูกอักเสบก็อาจปวดท้องน้อย มีไข้ได้ด้วย

ในผู้หญิงที่เป็นโรคหนองในกว่า 50% จะไม่แสดงอาการ ทำให้ไม่รู้ว่ามีเชื้อหรือได้รับเชื้อ

ซิฟิลิส (Syphilis)

เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Treponema pallidum โรคนี้มี 4 ระยะ สำหรับระยะแรก (Primary Syphilis) ลักษณะแผลจะตื้น ขอบเรียบสะอาด ไม่เจ็บ ขอบนูนแข็ง เรียกว่า แผลริมแข็ง (chancre) แผลมักจะเกิดหลังได้รับเชื้อ 10-90 วัน อาจพบแผลที่อวัยวะเพศและทวารหนัก

โรคซิฟิลิสนี้ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าได้รับเชื้อซิฟิลิส เนื่องจากเชื้อจะใช้เวลาเป็นปีกว่าจะการแสดงอาการ แถมผู้ป่วยซิฟิลิสเมื่อเกิดแผลมักมีความเสี่ยงได้รับเชื้อ HIV สูงขึ้น หากทราบว่าติดเชื้อซิฟิลิสตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถรักษาให้หายได้ แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา จนอาการถึงระยะสุดท้าย อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

การติดเชื้อซิฟิลิสสามารถติดจากแม่สู่ลูกได้ อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด เด็กเสียชีวิตในครรภ์หรือเสียชีวิตหลังคลอดได้ เด็กที่ได้รับเชื้อมักจะไม่แสดงออก

แผลริมอ่อน (Chancroid)

เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Haemophilus ducreyi โดยแผลมีลักษณะขอบไม่แข็ง ไม่เรียบ มีอาการเจ็บ บางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตได้

ผู้หญิงที่ติดเชื้อบางรายอาจไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ แต่สามารถแพร่เชื้อโรคแก่ผู้อื่นได้ จึงทำให้ผู้หญิงมักสังเกตอาการได้ค่อนข้างยากกว่าผู้ชาย เนื่องจากลักษณะโรคมีความคล้ายคลึงกับโรคซิฟิลิสหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น

หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)

เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม poxviridae ในผู้ใหญ่มักเป็นเฉพาะที่บริเวณอวัยวะเพศ ในเด็กอาจพบผื่นได้ทั่วตัว เช่น ข้อพับแขน-ขา และลำตัว แผลจะมีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีแดง และอาจมีตุ่มคล้ายมีสารสีขาวอยู่ภายใน บางครั้งจะมองเห็นเป็นจุดบุ๋มอยู่ตรงกลางได้

ในเด็กมักติดต่อกันได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ อาจติดต่อระหว่างเล่นกับเด็กคนอื่นที่มีเชื้อชนิดนี้ หรือติดจากบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ส่วนในวัยรุ่นและผู้ใหญ่มักติดต่อได้ง่ายทางเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงการเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ ที่มีการสัมผัสโดนกัน รวมไปถึงการใช้สิ่งของที่มีการปนเปื้อนของเชื้อร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬา

Pearly penile papule

Pearly penile papule

เป็นลักษณะผิวหนังปกติ แต่มีลักษณะเป็นตุ่มสีเนื้อจำนวนมากรอบๆ ปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หูดหงอนไก่

โดยส่วนใหญ่อาการผื่นนูนพีพีพีจะพบมากในเพศชายช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน โดยเฉพาะในเพศชายที่ไม่ผ่านการขลิบอวัยวะเพศ  และมีแนวโน้มจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น

เริม (Herpes Simplex)

เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Herpes simplex virus โดยจะพบเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำ แตกเป็นแผลตื้นๆ มักมีอาการเจ็บ ปวดแสบร้อน สามารถพบได้ทั้งที่อวัยวะเพศและริมฝึปาก โรคนี้สามารถเป็นซ้ำได้ ไม่หายขาด

สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยมักพบผู้ป่วยวัยหนุ่มสาว และวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยโรคเริมส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการของโรค และอาจมีการกำเริบกลับมาเป็นซ้ำได้อีก โดยอาการจะรุนแรงที่สุดเมื่อเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นอาการจะน้อยลง การเกิดซ้ำมักจะสัมพันธ์กับภูมิต้านทานของร่างกายที่อ่อนแอลง

กลากที่ขาหนีบ (Tinea cruris)

เป็นการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผื่นของกลากชนิดนี้มีลักษณะเป็น วงกลม หรือหรือวงแหวนมีขุย อาจพบตุ่มนํ้าใสที่ขอบ ตรงกลางวงอาจแบนราบลงได้ หรือที่บางคนเรียกว่า สังคัง หรือเชื้อราที่ขาหนีบ เพราะเชื้อรานี้จะพบได้มากบริเวณขาหนีบ บริเวณเครา และในเฉพาะผู้ชาย

โรคติดเชื้อแคนดิดา (Candidiasis)

ลักษณะเป็นผื่นแดง คัน แฉะ ผิวหนังลอก ขอบเขตชัดเจน มักมีตุ่มแดงขนาดเล็กๆ หรือตุ่มหนองกระจายอยู่ที่บริเวณขอบๆ ของผื่น มักพบบริเวณซอกพับต่างๆ เช่น ขาหนีบ รักแร้ ราวนม ซอกก้น ซอกคอ และซอกนิ้วบางครั้งพบรูขุมขนอักเสบ  ถ้าเป็นที่หนังศีรษะผมจะร่วง 

  • ถ้าในผุ้ชาย พบว่าเกิดบริเวณปลายอวัยวะเพศชายอาจพบลักษณะเป็นตุ่มหนองได้
  • ถ้าในผู้หญิง พบว่าเกิดบริเวณช่องคลอดทำให้เกิดอาการตกขาว รวมกับอาการคัน หรือแสบได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องที่นี่

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

โรคผิวหนังในที่ลับที่ควรรู้  https://www.phyathai.com/article_detail/3423/th/โรคผิวหนังในที่ลับที่ควรรู้