สิทธิการรักษาเอชไอวีของคนไทย

สิทธิการรักษาเอชไอวีของคนไทย

ปัจจุบันการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวียังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาได้ถูกพัฒนามากขึ้นจนสามารถทำให้ผู้ป่วย ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้อย่างใกล้เคียงกับคนปกติทั่วไป โดยจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องและปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดตามที่แพทย์แนะนำ จะต้องรับประทานยาให้ตรงเวลา รวมไปถึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่ทำให้เกิดการรับเชื้อใหม่ ตามหลักการสากลที่แพทย์ใช้รักษาผู้เชื้อเอชไอวี คือ Undetectable = Untransmittable (U=U) หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยมีการตรวจสอบแล้วว่าเชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก โดยการรักษาด้วยยาต้านไวรัสนั้นจะทำให้ร่างกายผู้ติดเชื้อมีปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดต่ำลง จนเรียกได้ว่า “ตรวจไม่เจอ” ส่งผลให้ไม่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีต่อผู้อื่นได้

สิทธิ การรักษาเอชไอวี ของคนไทยจะแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือสำหรับคนที่มีประกันสังคม คนที่ใช้สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค และการเข้าโครงการ Same-day ART (สำหรับรายที่เพิ่งตรวจพบเชื้อและไม่เคยรักษามาก่อน) ซึ่งทั้งสามโครงการจะแตกต่างกันในเรื่องค่าใช้จ่าย ดังนี้

ประกันสังคม

ประกันสังคม จะมีการเหมาจ่ายซึ่งอาจเป็นรายปี หรือเป็นตามจำนวนครั้งของการตรวจ ส่วนค่ายาจะไม่มีค่าใช้จ่าย

สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค (บัตรทอง)

สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค (บัตรทอง) จะมีค่าใช้จ่ายตอนแรกเข้า 30 บาท และอาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติมเพราะสิทธิอาจไม่ครอบคลุมทุกกระบวนการรักษา สิทธินี้ยังรวมไปถึงผู้ที่ยังไม่เคยตรวจเอชไอวีอีกด้วย

โครงการ Same-day ART

โครงการ Same-day ART จะเป็นโครงการของสภากาชาดไทยที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในช่วง 1-2เดือนแรก และหลังจากมีการส่งต่อคนไข้ไปสถานพยาบาลอื่น ก็จะมีการลดหย่อนค่าใช้จ่ายไปตามราคาที่สภากาชาดไทยกำหนด

ทั้งนี้การใช้สิทธิการรักษาของรัฐบาลอาจทำให้คุณภาพด้านการบริการไม่เท่ากันตามสถานพยาบาลแต่ละแห่ง และค่าใช้จ่ายจะไม่เท่ากัน แต่ในท้ายที่สุดกระบวนการรักษาจะเป็นเหมือนกันหมดคือการทานยาต้านไวรัสเอชไอวีสม่ำเสมอทุก ๆ วันเพื่อกดเชื้อไม่ให้แพร่ไปในร่างกาย และจะต้องมีการนัดตรวจเลือดหา CD4, Viral Load, หรือค่า Drug resistant ตามเวลาที่แพทย์กำหนด ซึ่งอาจจะเป็นทุก 3 เดือน 6 เดือน หรือปีละครั้งก็ได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องที่นี่